Friday, August 19, 2011

กลไกการทำงานของกรดไขมันในร่างกายของมนุษย์ ตอนที่ 2

สวัสดีเพื่อน ๆ ชาว Blog ทุกท่านค้าบ ^^ กลับมาต่อกันกับตอนที่ 2 ของ กลไกและขบวนการ การทำงานของกรดไขมันในร่างกายของมนุษย์ กันนะครับ เท่าที่ฟัง ๆ มาจากเพื่อน ๆ ที่เข้ามาให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อนี้ หลายท่านได้ให้คำแนะนำว่า บางหัวข้อมันลึก หรือว่ามันเข้าใจยากเกินไปหรือเปล่า ทางทีมผู้จัดทำต้องขอขอบคุณมากเลยนะครับ แล้วจะพยายามปรับปรุงเพื่อให้บทความนี้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น ^^
กลไก และขบวนการ การทำงานของกรดไขมันในร่างกายของมนุษย์ ตอนที่ 2
(Metabolism of Omega III in Human body Part II)
เกริ่นถึงบทก่อนกันนิดนึง นะครับ ^^ ได้ทราบกันไปแล้วว่า ร่างกายของมนุษย์เราไม่สามารถสร้างเจ้ากรดไขมันโอเมก้า 3 ได้ และจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไปเท่านั้น ><”
ในวันนี้ ผมก็มีข่าวร้ายมาแจ้งให้ทุกท่านทราบเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากว่า เราจะสร้างไม่ได้แล้ว เรายังไม่มีความสามารถในการเปลี่ยนกรดไขมันโอเมก้า 6 (ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ค่อนข้างพบได้มากกว่าในอาหารหลาย ๆ ชนิดที่เรารับประทานกันอยู่เป็นประจำ ^^) ให้กลายเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 เหมือนที่พืชหลาย ๆ ชนิดและ สัตว์ประเภทหนอนตัวกลมบางชนิดทำได้ T^T




ข้อมูลตรงส่วนนี้ช่วยเน้นย้ำว่า เจ้ากรดไขมันโอเมก้าสามนี่เป็นกรดไขมันจำเป็นจริง ๆ นะ !!! แต่ว่าร่างกายของเรานั้นก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสียไปหมดซะทุกอย่างหรอกครับ ^^ ในความโชคร้ายนั้น ร่างกายของเราก็ยังมีข้อดีอยู่ !!!
หากเพื่อน ๆ จำได้ กรดไขมันโอเมก้า 3 นั้น ไม่ได้อยู่ตัวเดียวหัวเดียว แต่อยู่กันเป็นครอบครัว ^^ (ถ้าจำไม่ได้ก็ย้อนกลับไปอ่านใน หัวข้อMetabolism of Omega III in Human body ตอนที่  1 นะครับ) ความโชคดีของร่างกายเรานั้นก็คือ ไม่ว่าเราจะรับประทานตัวไหนในครอบครัวของเจ้ากรดไขมันชนิดนี้เข้าไป มันจะสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างของมันกลายเป็นสมาชิกตัวอื่น ๆ ในครอบครัวของมันได้ครับ ^^  สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น เราไปดูตัวอย่างกันดีกว่านะครับ ^^



 จากรูปนะครับ (เราจะดูแต่ในกรอบสีแดงขวามือละกันนะครับ
^^) เพื่อน ๆ จะเห็นว่า หัวหน้าครอบครัวของครอบครัวกรดไขมันโอเมก้า 3 นั้นชื่อ ALA (กรด Alpha Linolenic) ซึ่งอยู่บนสุดของสายระบบเลย เมื่อร่างกายของเรารับเอาเจ้า ALA นี้เข้าไป การศึกษาพบว่า มันจะสามารถเปลี่ยน ไปเป็นสมาชิกตัวอื่น ๆ (ตัวที่อยู่ถัดมาทางด้านล่าง ๆ ลงมาอ่ะครับ) ในครอบครัวของมันได้
สมาชิกในครอบครัวกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ ร่างกายของเราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีคือ EPA (Eicosapentaenoic acid) และ DHA (Docosahexaenoic acid) (ออกอากาศบ่อย ๆ ทางทีวี ^^) ข้อดีของกลไกนี้ ทำให้ร่างกายของเราไม่จำเป็นต้องรับ กรดไขมัน โอเมก้าในรูปของ EPA และ DHA เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด แต่เราสามารถที่จะรับสมาชิกตัวไหนเข้าไปในร่างกายก็ได้ เพราะทุกสมาชิกในครอบครัวสามารถเปลี่ยนแปลงหากันและกันได้ครับ ^^
กลไกดังกล่าวดูเป็นความสามารถที่ใช้ได้ ^^แต่ตัวกลไกนี้เอง กลับถูกจำกัดด้วยปริมาณ Enzyme ในร่างกายของตัวเราเอง T^T กล่าวคือ หากร่างกายเรารับเอา ALA เข้าไป 10 หน่วย ร่างกายอาจจะไม่สามารถเปลี่ยน ALA ทั้ง 10 หน่วยนี้ให้เป็น EPAหรือ DHA ทั้ง 10 หน่วยเลยได้ หากจะเปลี่ยนได้ในสัดส่วนที่น้อยลง T^T
!!! ด้วยข้อจำกัดของกลไกนี้เอง เวลาเพื่อน ๆ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับ น้ำมันปลา ก็อยากให้เพื่อน ๆ เลือกซื้อที่มีส่วนประกอบของ EPA หรือ DHA ในสัดส่วนที่มากกว่า ALA กันหน่อยนะครับ เพื่อที่ว่าร่างกายของเราจะได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย ไม่ต้องเปลี่ยนหลายกรรมวิธี ^^
ในตอนที่ 2 นี้  เราได้ให้ท่านได้ทำคุ้นเคยกับครอบครัวกรดไขมันโอเมก้า สาม กันมากขึ้น (รู้ถึงความสัมพันธ์ของสมาชิกแต่ละตัวในครอบครัว ^^) แล้ว แต่ในตอนหน้า เราจะพาท่านรู้จักกับสมาชิกที่นิสัยดี และน่าคบหาสมาคมในครอบครัวกรดไขมันโอเมก้า 3 กันนะครับ ในตอนนี้ต้องขออำลาไปก่อนนะค้าบสวัสดีครับ ^^ 



Tuesday, August 9, 2011

กลไกการทำงานของกรดไขมันในร่างกายของมนุษย์ ตอนที่ 1

สวัสดีครับ เพื่อน ๆ ชาว BloG ทุกท่าน หลังจากเราได้รู้เรื่องราว และที่มาของเจ้ากรดไขมันโอเมก้าสามกันแล้ว วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับกลไกการทำงานของเจ้ากรดไขมันโอเมก้า สาม ในร่างกายของเรากันนะครับ ^^

กลไก และขบวนการ การทำงานของกรดไขมันในร่างกายของมนุษย์ ตอนที่ 1
(Metabolism of Omega III in Human body Part I)

ก่อนอื่น เราจะขอเล่าประวัติที่มาของการเรียกชื่อกรดไขมันโอเมก้า สาม กันก่อนนะครับ กรดไขมันโอเมก้า เป็นชื่อเรียกกลุ่มของกรดไขมัน ที่มีพันธะคู่ในโมเลกุล (กรดไขมันที่มีพันธะคู่ในโมเลกุล เราจะเรียกกรดไขมันชนิดนั้นว่ากรดขันไม่อิ่มตัว Unsaturated free fatty acid) อยู่ตรงคาร์บอนตำแหน่งที่ สาม นับจากกลุ่มเมทิล (Methyl [CH3]) ดังนั้นจริง ๆ แล้ว เจ้ากรดไขมันโอเมก้า สาม นั้น มันไม่ได้หัวเดียวกระเทียมลีบนะครับ แต่มันอยู่กันเป็นครอบครัวเลยทีเดียว ^^ สมาชิกในครอบครัวกรดไขมันโอเมก้า สาม ที่ค่อนข้างจะมีชื่อเสียง และ ได้ออกโฆษณาบนจอโทรทัศน์ หรือสื่อต่าง ๆ (ดังเหมือนกันนะนี่) ก็คงจะหนี ไม่พ้นเจ้า
AHA (Alpha-linolenic acid)                 EPA (Eicosapentaenoic acid)                DHA (Docosahexaenoic acid) 
กรดไขมันทั้ง สาม ตัวที่กล่าวมา ถึงแม้ชื่อจะแตกต่างกัน แต่ก็เป็นสมาชิกของครอบครัว โอเมก้า สาม กันทุกตัวเลย ^^


 จากรูป ฝั่งที่เขียนว่า โอเมก้า end  คือกลุ่มเมทิล (Methyl group) มุมหักแต่ละมุม แทนคาร์บอนในตำแหน่งต่าง ๆ ที่เห็นเป็นเลข สาม และมีวงกลมเส้นประสีแดง ก็แทนคาร์บอนตำแหน่งที่สามนั่นเองครับ ^^ เและที่เราเห็นเป็น ขีด เส้นคล้ายเครื่องหมายเท่ากับ แทนส่วนที่เรียกว่าพันธะคู่นะครับ



จากรูป แสดงลักษณะของกรดไขมันโอเมก้า หก จะเห็นได้ว่า ตำแหน่งพันธะคู่(หรือเจ้าสองเส้นที่คล้ายเครื่องหมายเท่ากับ) จะเริ่มต้นที่คาร์บอนตำแหน่งที่หกนะครับ


น่าเสียดายที่ในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขาด Enzyme (สารเคมีชนิดหนึ่งช่วยเร่งปฏิกิริยาตาสง ๆ ในร่างกายของคนเรา) ที่สามารถเติมพันธะคู่ ลงตรงคาร์บอนตำแหน่งที่ สาม และ คาร์บอนตำแหน่งที่ หก ได้ ทำให้ร่างกายของมนุษย์ (ซึ่งก็เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งเหมือนกันน้า ><”) ไม่สามารถสังเคราะห์กรดไขมันในกลุ่ม โอเมก้า สาม และกรดไขมัน โอเมก้า หก ได้ กรดไขมันทั้ง 2 ชนิดจึงเป็นกรดไขมันจำเป็น (Essential free fatty acid) และร่างกายของเราจำต้องรับกรดไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้จากการรับประทานสิ่งต่าง ๆ ทดแทนเท่านั้นครับ ^^


ปล. กรดไขมันโอเมก้า หก ก็คือกรดไขมันที่มีพันธะคู่ คู่แรก อยู่ที่คาร์บอนตำแหน่งที่หกเช่นเดียวกันครับ ^^
ในตอนที่ 1  เราได้แนะนำให้ท่านได้ทำความรู้จักกับครอบครัวกรดไขมันโอเมก้า สาม (แถม กรดไขมันโอเมก้า หก นิด ๆ ^^) แล้ว แต่ในตอนที่ 2 เราจะพาท่านไปพบกับความมหัศจรรย์ของลูก ๆ หลาน ๆ ของเจากรดไขมันเหล่านี้กันต่อนะครับ ^^




Tuesday, August 2, 2011

กรดไขมันโอเมก้าสาม และ น้ำมันปลา

สวัสดีแฟน ๆ  ชาว blog ทุกท่าน กลับมาอีกครั้ง กับเรื่องราวของเจ้ากรดไขมันโอเมก้า สาม ตัวดี ซึ่งในเนื้อหาบทก่อน พวกเราได้ทำความรู้จักถึงจุดกำเนิดความดังของเจ้ากรดไขมันโอเมก้า สาม กันไปแล้ว ในบทความนี้ เราจะมากล่าวกันต่อในเรื่องของ อาหาร กับกรดไขมันโอเมก้าสาม และความเป็นมาของน้ำมันปลา (เหมือนเรื่องเธอกับเขาและรักของเรามะ <.<’) กันต่อนะครับ ^^
อาหาร กับกรดไขมันโอเมก้าสาม และความเป็นมาของน้ำมันปลา (Source of Omega III and fish oil)
ในบทที่แล้วเราจบเนื้อหาไว้ที่ อาหารของชาว อินูวิต (เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่ยังไม่รู้จักชาวอินูวิต สามารถไปทำความรู้จักเพิ่มเติมกับพวกเขาได้ที่ : ประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของกรดไขมันโอเมก้าสาม (Historical Perspective of Omega III)) และในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักว่าอาหารที่เขาเหล่านั้นทานเข้าไป มันทำให้สุขภาพของพวกเขาแข็งแรงได้อย่างไร ^^
ปกติแล้ว ชาวอินูวิต ประกอบอาชีพล่าสัตว์ เพื่อเลี้ยงชีพ โดยสัตว์ที่พวกเขามักจะล่าก็ไม่พ้น สัตว์ที่อาศัยอยู่ในทวีปน้ำแข็งเหล่านี้ละครับ ไล่ตั้งแต่บนผืนหิมะ จนกระทั่งดำดิ่งสูท้องทะเล เช่น หมีขาว แมวน้ำ สิงโตทะล ปลาวาฬ ปลาโลมา ฯลฯ  (โอ้แม่เจ้า คนอะไรกินแม้กระทั่งหมีขาว ><”) แล้วในสัตว์เหล่านี้มันมีอะไรที่ทำให้พวกเขาแข็งแรง ???
ในการศึกษาเกี่ยวกับอาหารของชาวอินูวิต ทำให้เราพบว่า สัดส่วนของกรดไขมันจากสัตว์ต่าง ๆ ที่ชาวอินูวิตรับประทานนั้น มีสัดส่วนของกรดไขมันโอเมก้าสามค่อนข้างสูง นั้นเองครับ ^^ จึงเป็นที่มาของทฤษฏีที่ว่า กรดไขมันโอเมก้าสามน่าจะมีความสามารถในการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ นั่นเอง
แล้วกรดไขมันโอเมก้าสามพวกนี้มาจากไหนกันล่ะ ???
ถ้าเราดูตามห่วงโซ่อาหารที่ชาวอินูวิตรับประทานแล้วเราจะพบว่า กรดไขมันโอเมก้าสามเหล่านี้มาจากพื้นฐานของห่วงโซ่อาหารนี้เองครับ เริ่มต้นจาก แพลงต้อนพืช และสัตว์ ในทะล ถูกปลาทะเลชนิดต่าง ๆ กินจนกระทั่งมาสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งในทะเล หรือบนผืนน้ำแข็ง แล้วจึงเข้าสู่มนุษย์เรา ดังนั้น กรดไขมันโอเมก้าสามที่เรารับประทานกันอยู่ แท้จริงมาจาก สัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลนั่นเอง ครั้นจะให้เราไปนั่งรับประทาน แพลงต้อนพืช หรือสัตว์ก็คงจะลำบาก (ต้องทำตัวประหนึ่งปลาวาฬ - -.) จึงมีผู้คิดค้นที่จะสกัดสารเหล่านี้ออกมาจากห่วงโซ่อาหารที่ใหญ่กว่า นั่นก็คือปลานั่นเอง ^^ (จะไปสกัดจากหมีขั้วโลก หรือปลาวาฬ ก็ดูโหดร้ายไป และกรรมวิธีในการแยกสารเหล่านั้นออกมาจาก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่นั้นก็ค่อนข้างลำบากทีเดียวละครับ) และนี่ก็เป็นที่มาของ น้ำมันปลา หรือ fish oil นั่นเอง ^^

EPA and DHA food chain


ในฉบับนี้เราได้รู้กันแล้วถึงที่มาของกรดไขมันโอเมก้าสามกันแล้วนะครับ ว่าทำไมต้องมาจาก ปลาทะเล (ทำไมไม่สามารถสกัดจาก หมู หมา กา ไก่ ตามท้องตลาดได้ ราคาคงจะถูกลงอีกเยอะเลย) ดังนั้นหลังจากวันนี้ไป เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ทุกคนก็คงจะเห็นถึงความสำคัญการรับประทานของปลาทะเลกันแล้วนะครับ ^^ ฉบับหน้า เราจะพาเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ เจาะลงลึกข้อเท็จจริงถึงการทำงานของ กรดไขมันโอก้าสามหลังจากที่เข้าไปในร่างกายเราแล้วนะครับ ว่ามันมีการทำงานอย่างไรบ้าง ^^ เจอกันในฉบับหน้านะคร้าบ บ้ายบาย

Thursday, July 28, 2011

โอเมก้า สาม (Omega III)

สวัสดีเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ชาว blog ทุกท่าน วันนี้เราจะมาพูดกันเกี่ยวกับเจ้า กรดไขมันโอเมก้า สาม ตัวดี ที่กำลังมีกระแสรุนแรงในปัจจุบัน เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ทุกท่าน (ยาวเหลือเกิน ขอเรียกรวมเป็น แฟนเพจละกันนะครับ = =.) อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเลือกรับประทาน อาหารเสริม (Supplementary food หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Supplement) ในกลุ่มของ กรดไขมันโอเมก้า สาม หรือน้ำมันปลา (Fish oil) กันบ้างไม่มากก็น้อย วันนี้ละครับ เราจะนำทุกท่านเข้าสู่โลกแห่ง กรดไขมันโอเมก้า สาม และ น้ำมันปลาได้เลยครับ ^^

ประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของกรดไขมันโอเมก้าสาม
(Historical Perspective of Omega III)

แท้จริงแล้ว จุดเริ่มต้นของอาหารเสริมตัวนี้เกิดขึ้น ณ ประเทศ กรีนแลนด์ (Greenland)  ซึ่งขึ้นกับประเทศเดนมาร์ค (Denmark) (หลายคนอาจจะงง ว่าทำไมเป็นประเทศแล้วยังขึ้นกับประเทศอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนี้ ก็คล้าย ๆ กับความสัมพันธ์ของจีน กับฮ่องกงอ่ะครับ ^^ ทั้งนี้ ประเทศเดนมาร์ก ยังมีประเทศในการปกครองของตนอีก ประเทศ คือ หมู่เกาะแฟโร (Faroe island^^)  

เกริ่นเรื่องภูมิศาสตร์กันมาพอสมควรแล้ว (นอกเรื่องนั่นเอง) เรามาดูจุดเริ่มต้นจริง ๆ กันดีกว่า ^^“ จากรายงานตามสถานพยาบาลต่าง ๆ ในประเทศกรีนแลนด์ พบว่า มีประชากรกลุ่มหนึ่งในประเทศ ที่มีอุบัติการณ์ และความชุก ของโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกลับ ประชากรกลุ่มอื่น ๆ ประชากรกลุ่มนั้นเอง ถูกเรียกว่า ชาว อินนูวิต (Inuit) ซึ่งเป็นชาวเอสกิโม ที่อาศัยอยู่ในประเทศกรีนแลนด์ จึงทำให้แพทย์ชาวเดนมาร์ก ท่าน คือ Hans Olaf Bang และJorn Dyerberg ได้เข้าไปทำการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มชาว อินูวิต และพบว่า นอกจากอุบัติการณ์ และความชุก ของโรคหัวใจ และหลอดเลือดที่ต่ำแล้ว เขายังพบว่า ลักษณะของไขมัน (ท่านสามารถเข้าไปอ่านเรื่องของไขมันและการเผาผลาญเพิ่มเติมได้ตรงนี้ครับ ไขมันและการเผาผลาญ) ในกระเสเลือด เป็นลักษณะของไขมันที่ดี และมีความสามารถในการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว (atherosclerosis) และยังพบว่าภาวะการทำงานของเกล็ดเลือดที่ลดลงในชาว อินูวิต (จริง ๆ แล้วเกล็ดเลือดถ้าทำงานน้อยไปก็ไม่ดี (อาจทำให้เกิดภาวะเลือดหยุดยาก) ถ้าทำงานมากไปก็ไม่ดี (อาจทำให้เกิดภาวะการอักเสบที่รุนแรงต่าง ๆ ในร่างกายได้) แต่จุดที่ดีที่สุดคือให้มันทำงานแนวโน้มจะมาทางน้อยนิดหน่อย จะมีผลต่อร่างกาย และทางการแพทย์ที่ดีกว่าครับ ^^)


ชาวอินูอิด

Hans Olaf Bang และ Jorn Dyerberg จึงได้ทำการศึกษาต่อไปเรื่อย ๆ ๆ จนกระทั่งเขาก็ค้นพบว่า ปัจจัยที่ทำให้ชาวเอสกิโมเหล่านี้ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มากกว่า ชนอื่น ๆ ในประเทศกรีนแลนด์ก็คือ อาหารที่ชาวอินูวิตรับประทานกันเข้าไปนั่นเอง ^^ 


ในฉบับนี้ขอจบในส่วนของประวัตความเป็นมาเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วเรามาต่อกันหัวข้อถัดไป กับหัวข้อ อาหาร กับกรดไขมันโอเมก้าสาม และความเป็นมาของน้ำมันปลา นะครับ 

แนะนำตัวกันหน่อย

สวัสดีครับ
ด้วยความรวมมือของหมอมืออาชีพที่อยากมี Blog เป็นของตัวเอง Blog นี้เลยได้มีตัวตนขึ้นมาจนได้
Blog นี้เราตั้งใจจะนำเสนอ ความรู้ทางการแพทย์ที่ใกล้ตัวกับทุกๆ คน และหวังว่าจะทำให้เกิดประโยชน์ได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ท้้งนี้มีปัญหาทางการแพทย์อะไรก็ถามได้เช่นกันนะครับ เดี๋ยวหมอจะไปค้นคำตอบมาให้ ฮ่าๆ