Tuesday, August 9, 2011

กลไกการทำงานของกรดไขมันในร่างกายของมนุษย์ ตอนที่ 1

สวัสดีครับ เพื่อน ๆ ชาว BloG ทุกท่าน หลังจากเราได้รู้เรื่องราว และที่มาของเจ้ากรดไขมันโอเมก้าสามกันแล้ว วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับกลไกการทำงานของเจ้ากรดไขมันโอเมก้า สาม ในร่างกายของเรากันนะครับ ^^

กลไก และขบวนการ การทำงานของกรดไขมันในร่างกายของมนุษย์ ตอนที่ 1
(Metabolism of Omega III in Human body Part I)

ก่อนอื่น เราจะขอเล่าประวัติที่มาของการเรียกชื่อกรดไขมันโอเมก้า สาม กันก่อนนะครับ กรดไขมันโอเมก้า เป็นชื่อเรียกกลุ่มของกรดไขมัน ที่มีพันธะคู่ในโมเลกุล (กรดไขมันที่มีพันธะคู่ในโมเลกุล เราจะเรียกกรดไขมันชนิดนั้นว่ากรดขันไม่อิ่มตัว Unsaturated free fatty acid) อยู่ตรงคาร์บอนตำแหน่งที่ สาม นับจากกลุ่มเมทิล (Methyl [CH3]) ดังนั้นจริง ๆ แล้ว เจ้ากรดไขมันโอเมก้า สาม นั้น มันไม่ได้หัวเดียวกระเทียมลีบนะครับ แต่มันอยู่กันเป็นครอบครัวเลยทีเดียว ^^ สมาชิกในครอบครัวกรดไขมันโอเมก้า สาม ที่ค่อนข้างจะมีชื่อเสียง และ ได้ออกโฆษณาบนจอโทรทัศน์ หรือสื่อต่าง ๆ (ดังเหมือนกันนะนี่) ก็คงจะหนี ไม่พ้นเจ้า
AHA (Alpha-linolenic acid)                 EPA (Eicosapentaenoic acid)                DHA (Docosahexaenoic acid) 
กรดไขมันทั้ง สาม ตัวที่กล่าวมา ถึงแม้ชื่อจะแตกต่างกัน แต่ก็เป็นสมาชิกของครอบครัว โอเมก้า สาม กันทุกตัวเลย ^^


 จากรูป ฝั่งที่เขียนว่า โอเมก้า end  คือกลุ่มเมทิล (Methyl group) มุมหักแต่ละมุม แทนคาร์บอนในตำแหน่งต่าง ๆ ที่เห็นเป็นเลข สาม และมีวงกลมเส้นประสีแดง ก็แทนคาร์บอนตำแหน่งที่สามนั่นเองครับ ^^ เและที่เราเห็นเป็น ขีด เส้นคล้ายเครื่องหมายเท่ากับ แทนส่วนที่เรียกว่าพันธะคู่นะครับ



จากรูป แสดงลักษณะของกรดไขมันโอเมก้า หก จะเห็นได้ว่า ตำแหน่งพันธะคู่(หรือเจ้าสองเส้นที่คล้ายเครื่องหมายเท่ากับ) จะเริ่มต้นที่คาร์บอนตำแหน่งที่หกนะครับ


น่าเสียดายที่ในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขาด Enzyme (สารเคมีชนิดหนึ่งช่วยเร่งปฏิกิริยาตาสง ๆ ในร่างกายของคนเรา) ที่สามารถเติมพันธะคู่ ลงตรงคาร์บอนตำแหน่งที่ สาม และ คาร์บอนตำแหน่งที่ หก ได้ ทำให้ร่างกายของมนุษย์ (ซึ่งก็เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งเหมือนกันน้า ><”) ไม่สามารถสังเคราะห์กรดไขมันในกลุ่ม โอเมก้า สาม และกรดไขมัน โอเมก้า หก ได้ กรดไขมันทั้ง 2 ชนิดจึงเป็นกรดไขมันจำเป็น (Essential free fatty acid) และร่างกายของเราจำต้องรับกรดไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้จากการรับประทานสิ่งต่าง ๆ ทดแทนเท่านั้นครับ ^^


ปล. กรดไขมันโอเมก้า หก ก็คือกรดไขมันที่มีพันธะคู่ คู่แรก อยู่ที่คาร์บอนตำแหน่งที่หกเช่นเดียวกันครับ ^^
ในตอนที่ 1  เราได้แนะนำให้ท่านได้ทำความรู้จักกับครอบครัวกรดไขมันโอเมก้า สาม (แถม กรดไขมันโอเมก้า หก นิด ๆ ^^) แล้ว แต่ในตอนที่ 2 เราจะพาท่านไปพบกับความมหัศจรรย์ของลูก ๆ หลาน ๆ ของเจากรดไขมันเหล่านี้กันต่อนะครับ ^^




No comments:

Post a Comment