สวัสดีแฟน ๆ ชาว blog ทุกท่าน กลับมาอีกครั้ง กับเรื่องราวของเจ้ากรดไขมันโอเมก้า สาม ตัวดี ซึ่งในเนื้อหาบทก่อน พวกเราได้ทำความรู้จักถึงจุดกำเนิดความดังของเจ้ากรดไขมันโอเมก้า สาม กันไปแล้ว ในบทความนี้ เราจะมากล่าวกันต่อในเรื่องของ อาหาร กับกรดไขมันโอเมก้าสาม และความเป็นมาของน้ำมันปลา (เหมือนเรื่องเธอกับเขาและรักของเรามะ <.<’) กันต่อนะครับ ^^
อาหาร กับกรดไขมันโอเมก้าสาม และความเป็นมาของน้ำมันปลา (Source of Omega III and fish oil)
ในบทที่แล้วเราจบเนื้อหาไว้ที่ อาหารของชาว อินูวิต (เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่ยังไม่รู้จักชาวอินูวิต สามารถไปทำความรู้จักเพิ่มเติมกับพวกเขาได้ที่ : ประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของกรดไขมันโอเมก้าสาม (Historical Perspective of Omega III)) และในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักว่าอาหารที่เขาเหล่านั้นทานเข้าไป มันทำให้สุขภาพของพวกเขาแข็งแรงได้อย่างไร ^^
ปกติแล้ว ชาวอินูวิต ประกอบอาชีพล่าสัตว์ เพื่อเลี้ยงชีพ โดยสัตว์ที่พวกเขามักจะล่าก็ไม่พ้น สัตว์ที่อาศัยอยู่ในทวีปน้ำแข็งเหล่านี้ละครับ ไล่ตั้งแต่บนผืนหิมะ จนกระทั่งดำดิ่งสูท้องทะเล เช่น หมีขาว แมวน้ำ สิงโตทะล ปลาวาฬ ปลาโลมา ฯลฯ (โอ้แม่เจ้า คนอะไรกินแม้กระทั่งหมีขาว ><”) แล้วในสัตว์เหล่านี้มันมีอะไรที่ทำให้พวกเขาแข็งแรง ???
ในการศึกษาเกี่ยวกับอาหารของชาวอินูวิต ทำให้เราพบว่า สัดส่วนของกรดไขมันจากสัตว์ต่าง ๆ ที่ชาวอินูวิตรับประทานนั้น มีสัดส่วนของกรดไขมันโอเมก้าสามค่อนข้างสูง นั้นเองครับ ^^ จึงเป็นที่มาของทฤษฏีที่ว่า กรดไขมันโอเมก้าสามน่าจะมีความสามารถในการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ นั่นเอง
แล้วกรดไขมันโอเมก้าสามพวกนี้มาจากไหนกันล่ะ ???
ถ้าเราดูตามห่วงโซ่อาหารที่ชาวอินูวิตรับประทานแล้วเราจะพบว่า กรดไขมันโอเมก้าสามเหล่านี้มาจากพื้นฐานของห่วงโซ่อาหารนี้เองครับ เริ่มต้นจาก แพลงต้อนพืช และสัตว์ ในทะล ถูกปลาทะเลชนิดต่าง ๆ กินจนกระทั่งมาสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งในทะเล หรือบนผืนน้ำแข็ง แล้วจึงเข้าสู่มนุษย์เรา ดังนั้น กรดไขมันโอเมก้าสามที่เรารับประทานกันอยู่ แท้จริงมาจาก สัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลนั่นเอง ครั้นจะให้เราไปนั่งรับประทาน แพลงต้อนพืช หรือสัตว์ก็คงจะลำบาก (ต้องทำตัวประหนึ่งปลาวาฬ - -.) จึงมีผู้คิดค้นที่จะสกัดสารเหล่านี้ออกมาจากห่วงโซ่อาหารที่ใหญ่กว่า นั่นก็คือปลานั่นเอง ^^ (จะไปสกัดจากหมีขั้วโลก หรือปลาวาฬ ก็ดูโหดร้ายไป และกรรมวิธีในการแยกสารเหล่านั้นออกมาจาก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่นั้นก็ค่อนข้างลำบากทีเดียวละครับ) และนี่ก็เป็นที่มาของ น้ำมันปลา หรือ fish oil นั่นเอง ^^
EPA and DHA food chain |
ในฉบับนี้เราได้รู้กันแล้วถึงที่มาของกรดไขมันโอเมก้าสามกันแล้วนะครับ ว่าทำไมต้องมาจาก ปลาทะเล (ทำไมไม่สามารถสกัดจาก หมู หมา กา ไก่ ตามท้องตลาดได้ ราคาคงจะถูกลงอีกเยอะเลย) ดังนั้นหลังจากวันนี้ไป เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ทุกคนก็คงจะเห็นถึงความสำคัญการรับประทานของปลาทะเลกันแล้วนะครับ ^^ ฉบับหน้า เราจะพาเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ เจาะลงลึกข้อเท็จจริงถึงการทำงานของ กรดไขมันโอก้าสามหลังจากที่เข้าไปในร่างกายเราแล้วนะครับ ว่ามันมีการทำงานอย่างไรบ้าง ^^ เจอกันในฉบับหน้านะคร้าบ บ้ายบาย
คุณหมอครับ ถ้ากินน้ำมันปลาจะทำให้อ้วนหรือป่าวครับ ตอนนี้ผมลดน้ำหนักโดยการลดอาหารประเภทแป้ง ( แทบจะไม่กินเลย 555 ) กลัวอ้วนเห็นเป็นน้ำมัน
ReplyDeleteต้องขอโทษด้วยนะครับที่มาตอบช้า ^^ แท้จริงน้ำมันปลา มันก็คือน้ำมันชนิดหนึ่ง ซึ่งไขมัน 1 กรัม สามารถให้พลังงานได้ถึง 9 กิโลแคลอรี่ครับ การรับประทานน้ำมันปลา ซึ่งปกติมักจะบรรจุขนาดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม (หรือ 1 กรัม นั่นเอง) ดังนั้น การทานน้ำมันปลา 1 แคปซูลนั้น ให้พลังงานเพียง 9 กิโลแคลอรี่ เท่านั้นเองครับ ^^ ตามทฤษฏี ทำให้อ้วนได้ครับ แต่ในทางปฏิบัติ ไม่น่าจะทำให้เป็นสาเหตุหลักในการทำให้อ้วนได้นะครับ ^^
ReplyDeleteปล. การลดน้ำหนักตัวโดยการลดอาหารจำพวกแป้งนั้น ถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีครับ แต่แท้จริงแล้ว การลดอาหาอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้น้ำหนักลดลงไปได้เรื่อย ๆ นะครับ แนะนำให้ทำคู่กับการออกกำลังกายนะครับ กลไกเป็นอย่างไร ติดตามใน blog ได้นะครับ ^^