Friday, August 19, 2011

กลไกการทำงานของกรดไขมันในร่างกายของมนุษย์ ตอนที่ 2

สวัสดีเพื่อน ๆ ชาว Blog ทุกท่านค้าบ ^^ กลับมาต่อกันกับตอนที่ 2 ของ กลไกและขบวนการ การทำงานของกรดไขมันในร่างกายของมนุษย์ กันนะครับ เท่าที่ฟัง ๆ มาจากเพื่อน ๆ ที่เข้ามาให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อนี้ หลายท่านได้ให้คำแนะนำว่า บางหัวข้อมันลึก หรือว่ามันเข้าใจยากเกินไปหรือเปล่า ทางทีมผู้จัดทำต้องขอขอบคุณมากเลยนะครับ แล้วจะพยายามปรับปรุงเพื่อให้บทความนี้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น ^^
กลไก และขบวนการ การทำงานของกรดไขมันในร่างกายของมนุษย์ ตอนที่ 2
(Metabolism of Omega III in Human body Part II)
เกริ่นถึงบทก่อนกันนิดนึง นะครับ ^^ ได้ทราบกันไปแล้วว่า ร่างกายของมนุษย์เราไม่สามารถสร้างเจ้ากรดไขมันโอเมก้า 3 ได้ และจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไปเท่านั้น ><”
ในวันนี้ ผมก็มีข่าวร้ายมาแจ้งให้ทุกท่านทราบเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากว่า เราจะสร้างไม่ได้แล้ว เรายังไม่มีความสามารถในการเปลี่ยนกรดไขมันโอเมก้า 6 (ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ค่อนข้างพบได้มากกว่าในอาหารหลาย ๆ ชนิดที่เรารับประทานกันอยู่เป็นประจำ ^^) ให้กลายเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 เหมือนที่พืชหลาย ๆ ชนิดและ สัตว์ประเภทหนอนตัวกลมบางชนิดทำได้ T^T




ข้อมูลตรงส่วนนี้ช่วยเน้นย้ำว่า เจ้ากรดไขมันโอเมก้าสามนี่เป็นกรดไขมันจำเป็นจริง ๆ นะ !!! แต่ว่าร่างกายของเรานั้นก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสียไปหมดซะทุกอย่างหรอกครับ ^^ ในความโชคร้ายนั้น ร่างกายของเราก็ยังมีข้อดีอยู่ !!!
หากเพื่อน ๆ จำได้ กรดไขมันโอเมก้า 3 นั้น ไม่ได้อยู่ตัวเดียวหัวเดียว แต่อยู่กันเป็นครอบครัว ^^ (ถ้าจำไม่ได้ก็ย้อนกลับไปอ่านใน หัวข้อMetabolism of Omega III in Human body ตอนที่  1 นะครับ) ความโชคดีของร่างกายเรานั้นก็คือ ไม่ว่าเราจะรับประทานตัวไหนในครอบครัวของเจ้ากรดไขมันชนิดนี้เข้าไป มันจะสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างของมันกลายเป็นสมาชิกตัวอื่น ๆ ในครอบครัวของมันได้ครับ ^^  สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น เราไปดูตัวอย่างกันดีกว่านะครับ ^^



 จากรูปนะครับ (เราจะดูแต่ในกรอบสีแดงขวามือละกันนะครับ
^^) เพื่อน ๆ จะเห็นว่า หัวหน้าครอบครัวของครอบครัวกรดไขมันโอเมก้า 3 นั้นชื่อ ALA (กรด Alpha Linolenic) ซึ่งอยู่บนสุดของสายระบบเลย เมื่อร่างกายของเรารับเอาเจ้า ALA นี้เข้าไป การศึกษาพบว่า มันจะสามารถเปลี่ยน ไปเป็นสมาชิกตัวอื่น ๆ (ตัวที่อยู่ถัดมาทางด้านล่าง ๆ ลงมาอ่ะครับ) ในครอบครัวของมันได้
สมาชิกในครอบครัวกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ ร่างกายของเราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีคือ EPA (Eicosapentaenoic acid) และ DHA (Docosahexaenoic acid) (ออกอากาศบ่อย ๆ ทางทีวี ^^) ข้อดีของกลไกนี้ ทำให้ร่างกายของเราไม่จำเป็นต้องรับ กรดไขมัน โอเมก้าในรูปของ EPA และ DHA เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด แต่เราสามารถที่จะรับสมาชิกตัวไหนเข้าไปในร่างกายก็ได้ เพราะทุกสมาชิกในครอบครัวสามารถเปลี่ยนแปลงหากันและกันได้ครับ ^^
กลไกดังกล่าวดูเป็นความสามารถที่ใช้ได้ ^^แต่ตัวกลไกนี้เอง กลับถูกจำกัดด้วยปริมาณ Enzyme ในร่างกายของตัวเราเอง T^T กล่าวคือ หากร่างกายเรารับเอา ALA เข้าไป 10 หน่วย ร่างกายอาจจะไม่สามารถเปลี่ยน ALA ทั้ง 10 หน่วยนี้ให้เป็น EPAหรือ DHA ทั้ง 10 หน่วยเลยได้ หากจะเปลี่ยนได้ในสัดส่วนที่น้อยลง T^T
!!! ด้วยข้อจำกัดของกลไกนี้เอง เวลาเพื่อน ๆ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับ น้ำมันปลา ก็อยากให้เพื่อน ๆ เลือกซื้อที่มีส่วนประกอบของ EPA หรือ DHA ในสัดส่วนที่มากกว่า ALA กันหน่อยนะครับ เพื่อที่ว่าร่างกายของเราจะได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย ไม่ต้องเปลี่ยนหลายกรรมวิธี ^^
ในตอนที่ 2 นี้  เราได้ให้ท่านได้ทำคุ้นเคยกับครอบครัวกรดไขมันโอเมก้า สาม กันมากขึ้น (รู้ถึงความสัมพันธ์ของสมาชิกแต่ละตัวในครอบครัว ^^) แล้ว แต่ในตอนหน้า เราจะพาท่านรู้จักกับสมาชิกที่นิสัยดี และน่าคบหาสมาคมในครอบครัวกรดไขมันโอเมก้า 3 กันนะครับ ในตอนนี้ต้องขออำลาไปก่อนนะค้าบสวัสดีครับ ^^ 



No comments:

Post a Comment